Domain Authority คืออะไรแล้วทำยังไงให้ domain เป็น authority

Domain authority (DA) มีอยู่หลักการให้คะแนนอยู่ตั้งแน่ 1-100 ครับ ซึ่งปัจจัยสำหรับการให้คะแนนนั้นก็มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วนครับ แต่โดยหลักๆ แล้วก็จะมีอยู่ 3 ปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงกับ Domain Authority นี้ครับ ก็คือ

  1.  Domain Age (อายุโดเมน) ทุกๆ วันนี้ถ้ามองง่ายๆ ก็คือจะมีเว็บจำนวนมากมายมหาศาลที่เกิดใหม่ทุกๆ นาที ซึ่งแน่นอนถ้าหากว่าจะจัดให้ Domain ที่เกิดใหม่ได้คะแนนก็คงไม่ได้ เพราะว่า Domain เกิดใหม่ทั้งหลายนี้มีโอกาศที่จะเป็นเว็บที่ไม่มีคุณภาพสูง มากกว่าเว็บที่เกิดมาแล้วสักพักหนึ่ง  ซึ่งตรงนี้เราสรุปได้ว่าอายุโดเมนนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้คะแนน Domain Authority ยิ่งอายุเยอะ การจะได้คะแนนก็สูงมากตามไปด้วยครับ ส่วนเว็บที่เกิดใหม่นั้นเมื่อไรคะแนน Domain Authority ถึงจะขึ้น?  อันนี้หลังจากที่ผมทดสอบสักพักทำให้คาดการณ์ได้ว่าอย่างเร็วที่สุดที่จะขึ้นก็คือ 4 เดือนครับ แน่นอนว่าตัวเลขนี้ไม่ตายตัวครับ จะปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงเมื่อไรก็ไม่มีใครรู้ ทุกท่านต้องทดสอบด้วยตนเองเรื่อยๆ ครับ
  2. Domain Size (ขนาดเว็บไซต์) หมายถึงจำนวนเนื้อหาในเว็บไซต์ว่ามีจำนวนมากแค่ไหน ซึ่งตรงนี้ Google ไม่รู้หรอกครับว่าเว็บมีเนื้อหามากน้อยแค่ไหนในปกติ แต่หากมองอีกมุมหนึ่งเราก็จะสังเกตได้จากจำนวน Index ครับ หากว่าเว็บไซต์ที่มีจำนวน Index เยอะๆ ก็จะได้ Domain Authority เพิ่ม “แต่” ไม่ใช่การปั่น Index นะครับ ซึ่งตรง Index ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะมีการตรวจสอบอีกว่าหน้านั้นเป็น Page Authority ด้วยหรือป่าว แล้วอะไรคือ Page Authority ล่ะ? Page Authority ก็คือหน้าเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ โดยรวมแล้วก็คือหน้าเว็บที่มีการเขียนบทความที่ดีและเป็นการเขียนบทความขึ้นมาด้วยตัวเอง
  3. Domain popularity (outbound Link & inbound Link) เป็นการเกี่ยวจัดการเกี่ยวกับ การทำ outbound Link และ inbound Link ซึ่งความหมายของทั้งสองคำในภาษาบ้านๆ เลยก็คือว่าการทำ link ข้างนอกเว็บไซต์ และ การทำ link ข้างในเว็บไซต์ หลักการทำ outbound Link คือการทำ Backlink เข้ามาสู่เว็บไซต์ โดยเน้นที่มีคุณภาพและมีคะแนน Domain Authority ที่ดี ส่วนนี้สำคัญมากหากว่าเราหา Backlink จากเว็บไซต์ที่คะแนน Domain Authority ไม่ดีนั้นจะทำให้เว็บไซต์เราอันดับหายไปได้ และหากว่ามี Link จากที่คะแนน Domain Authority ไม่ดีจำนวนมากๆ นั้นหมายถึงเว็บของคุณก็จะได้คะแนน Domain Authority ต่ำมากๆ ไปด้วย เพราะเฉพาะนั้ทุก Link ที่เข้ามาสู่เว็บไซต์เราต้องคัดสรรครับ เลือกให้ดีก่อนถ้าจะซื้อ Backlink ก็ให้ผู้ขาย Backlink บอกคะแนน Domain Authority มาให้เราดูด้วยครับ ส่วน inbound Link ก็คือการเชื่อมโยง Link ภายในเว็บไซต์เอง หมายความว่ามีการทำ Link กันไปมาระหว่างบทความ และในหน้าเพจต่างๆ แบบไม่น่าเกียจจนเกินไปนะครับ เชื่อมกันแบบพอดีเฉพาะบทความที่ต้องการอ้างอิงถึง บทความที่ผู้อ่านจำเป็นต้องรู้หรือต้องการรู้ครับ
Domain Authority
เปรียบเทียบ Domain Authority ของเว็บไทย ภาพนี้เช็คจาก robingupta.co

แน่นอนครับว่าปัจจุบันนี้ทุกๆ Search Engine ได้ปรับเปลี่ยนการจัดอันดับตลอดเวลา การให้คะแนน Domain Authority ก็คืออีก 1 หลักการที่เพิ่มเข้ามาเพื่อคัดสรรเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ  ให้แสดงบนหน้าการค้นหาครับ ซึ่งการตรวจสอบคะแนน Domain Authority  ก็มีอยู่หลายๆ วิธีครับ จะเข้าไปเช็คจากในเว็บไซต์ก็ได้ครับที่ http://www.robingupta.co หรือว่าจะใช้ Plugin ของ Firefox ก็ได้ครับ ชื่อ SEO Toolbar by SEOmoz และคราวหน้าหากว่ามีบทความดีๆ เกี่ยวกับ SEO ผมก็จะมาอัปเดทให้เรื่อยๆ นะครับ ไม่หายหน้าหายตาไป เป็น 2 ปีกว่าๆ แบบนี้แล้วครับ

Onpage Priority

Onpage Priority

Search engine ทุกแห่งต่างพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ การพัฒนานั้นย่อมเกิดกระบวนการใหม่ขึ้นมา ส่วนตัวนั้นผมจะให้ความสำคัญกับการทำ Onpage มากๆ บทความนี้จึงเป็นการนำความรู้เกี่ยวกับ Onpage ที่เกิดจากการติดตามผล สังเกตุ และวิเคราะห์ ความสำคัญของ Onpage ของ Google Bot สรุปออกมา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการ์ณที่เหล่า SEO ได้เจอมาครับ

จากการสังเกตุนั้นพบว่า Google ได้มีการให้คะแนนในฝั่ง Onpage เช่นเดียวกับการให้คะแนนในฝั่งของ Offpage (ที่เรียกว่า PageRank) ส่วนตัวผมได้เรียกคะแนนนั้นว่า ค่า “Priority”

Priority คือ ค่าการประเมินผลของการปรับแต่ง Onpage ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีกี่ระดับ แต่จากการทดสอบนั้นพบว่ามันแบ่งออกเป็นสามระดับ ค่านี้ไม่แปรผันกับ PR (PageRank) อาจแบ่งได้ดังนี้

  1. Basic Priority คือการปรับ Onpage เพื่อรองรับการทำ SEO ทั่วไป โดย  Basic Priority นั้นจะเป็นค่าในระดับเริ่มต้น ซึ่งเกิดจากการปรับ  URL Title หรือ Meta (อธิบายเพิ่มเติม) ส่งผลให้ Bot สามารถเข้าใจว่า Content นั้นคือ Content อะไร ซึ่ง Bot ก็จะนำไปวิเคราะห์ Offpage เพื่อทำการจัดอันดับต่อไป
  2. Medium  Priority คือการปรับ Onpage เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพการทำ SEO หลักการของการปรับ Onapge ใน Medium  Priority นั้นก็เพื่อทำให้ Bot ทำงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งการเพิ่มประสิทธิ์ภาพนั้นจะมีหลายวิธีการดังตัวอย่างต่อไปนี้
    • มี Sitemap เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ (ในกรณีที่เว็บไซต์มีขนาดใหญ่) ทำให้ Bot ทำงานได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้นในการ Crawl แต่ละครั้ง อีกทั้งยังทำให้ Content ใหม่ในเว็บไซต์ที่ Post ไป Index อย่างรวดเร็ว
    • มี Breadcrumbs เพื่อเป็นการบอกตำแหน่งของ Content นั้นๆ ทำให้ Bot เข้าถึงตำแหน่งต่างๆ ของ Content ได้ถูกต้องตาม Site Structure ที่วางไว้
    • มีการทำ Web Site Optimization เพื่อเพิ่มความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ ทำให้การเข้ามา Crawl หนึ่งครั้งในเว็บไซต์เก็บข้อมูลได้มากขึ้นกว่าเดิม
    • ผ่านมาตรฐาน W3C Validation เพื่อเป็นตัววัดคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO
  3. High Priority คือการปรับ Onpage เพื่อผู้ใช้เป็นหลัก โดยพิจารณาการจัดอันดับจาก “คุณภาพผู้เข้ามาใช้งานเว็บไซต์” ซึ่ง Google เริ่มที่จะให้ความสำคัญมากขึ้น หลักการก็คือเว็บไซต์ใดก็ตามที่มีผู้ใช้เข้ามาใช้งานมากและนาน Google จะจัดอันดับให้เว็บไซต์นั้นสูงขึ้น
    หากตามไปเจอเว็บไซต์ที่ Backlinks น้อย Density มีปริมาณที่แปลกๆ อาจจะน้อยเกินไปหรือมากเกินไป แต่สามารถอยู่ในอันดับที่ดีๆ ได้ตั้งข้อสันนิฐานได้ว่าเว็บไซต์นั้นอาจจะเป็น High Priority เว็บนั้นเอง
    ขยายความคำว่า “คุณภาพผู้เข้ามาใช้งานเว็บไซต์” สักหน่อย คุณภาพผู้ใช้นั้นก็เสมือนกับเป็นกระจกส่งถึงคุณภาพของเว็บไซต์ เมื่อเว็บไซต์ดี มีเนื้อหาไม่ซ้ำใคร (Unique Content) เว็บไซต์สามารถ Present ตัวเองได้ดีกว่าเว็บไซต์คู่แข่ง เมื่อผู้ใช้เข้ามาเจอเว็บไซต์ของคุณก็อยากจะกลับมาอีก (Traffic Return) เว็บไซต์ของคุณถูกแนะนำและบอกต่อผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำลิงค์มาจาก Blog มาจาก Web Sites มาจาก Social network/Social media  สิ่งเหล่านี้มันสะท้อนไปถึงคุณภาพนั้นเอง ไม่ว่าเว็บไซต์ของคุณจะอยู่อันดับที่เท่าไร เขาจะคลิกเว็บไซต์คุณเข้ามาใช้งาน และใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์คุณนานกว่าเว็บไซต์คู่แข่ง และนั้นเองทำให้ Google Bot นำไปประเมินอันดับที่คุณควรจะได้

“Content is King” คำนี้เป็นคำที่เราคุ้นเคยกันดี อย่าลืมว่าผู้เสพ Content ไม่ใช่ Bot แต่คือคน จึงขอเสนอคำอีกคำ นั้นก็คือ “User is King” ซึ่งน่าจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ยังยืน และเมื่อถึงจุดอิ่มตัวของการทำ SEO คุณก็อาจจะไม่จำเป็นต้องสนใจ SEO อีกต่อไป

สุดท้ายนี้บทความนี้เขียนขึ้นมาจากการทดสอบ สังเกตุ สรุปผล โดยนำประสบการ์ณส่วนตัวมาวิเคราะห์ ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดใดๆ ก็ตาม จึงน้อมรับฟังความคิดเห็นของทุกท่านมา ณ ที่นี้ เพื่อให้ได้ซึ่งความรู้ที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ต่อไป

Thank You

Breadcrumbs

Breadcrumb คือ Navigator interfaces ที่บอกตำแหน่งที่อยู่ภายในเว็บไซต์ มีโครงสร้างแบบลำดับชั้น ซึ่งระบุถึงตำแหน่งปัจุบัน ตำแหน่งสูงกว่าและตำแหน่ง Root ของ Domain (หน้าแรก) เอาไว้

ประโยชน์ของ Breadcrumbs

  • ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทราบตำแหน่งของเนื้อหาในปัจจุบัน
  • ผู้ใช้สามารถออกไปยังเนื้อหาตำแหน่งอื่นๆ ที่ต้องการได้ง่าย
  • ช่วยให้ Bot เข้าถึงตำแหน่งเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

วิธีทำให้ Google แสดงผลแบบ Breadcrumbs

วิธีการทำ Breadcrumbs นั้นควรจะออกแบบ โครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) ที่ดีก่อน หากเว็บไซต์ไม่ใหญ่มาก โครงสร้างก็จะมีเพียงหมวดหมู่และเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาแต่ละอันก็ต้องมีหมวดหมู่สังกัดอยู่

ตัวอย่าง Site Structure

หลังจากที่วาง Site Structure แล้ว ก็นำโครงสร้างดังกล่าว มาออกแบบ Breadcrumbs จากตัวอย่าง Site Structure เมื่อนำมาวาง Path จะได้ดังนี้คือ

  • หน้าแรก > เพลงสตริง > อยู่คนเดียว เบิร์ด ธงไชย
  • หน้าแรก > เพลงลูกทุ่ง > เป็นเพื่อนไม่ได้ หัวใจอยากเป็นแฟน ไผ่ พงศธร
  • หน้าแรก > เพลงสากล > Just The Way You Are Bruno Mars

เครื่องมือทำ Breadcrumbs สำหรับ WordPress

แนะนำ Breadcrumb NavXT กดดาน์โหลดตรงนี้ หลังที่ Activate Plugins แล้วให้นำ Code นี้ไปวางในตำแหน่งที่ต้องการแสดงผลบน Themes ของคุณ

<div>
<?php
if(function_exists(‘bcn_display’))
{
bcn_display();
}
?>
</div>

ดูผลลัพท์ได้ที่ Breadcrumbs ของผมในเว็บไซต์นี้ครับ

เครื่องมือทำ Breadcrumbs สำหรับ Joomla

สำหรับการทำ Breadcrumbs ใน Joomla นั้นคุณสามารถ้ข้าไปเพิ่ม Module ได้เลย เข้าที่ Module Manager > New > Breadcrumbs > ตั้งค่าและกด Apply

Continue reading “Breadcrumbs”

ข้อดีข้อเสียของ SEO

2.41 Search Engine

SEO คือปลายทางของ Marketing แล้วทำไม SEO จึงเป็นปลายทางของ Marketing? นั้นก็เพราะว่าก่อนที่คุณจะตัดสินใจลงทุนทำ SEO นั้นคุณต้องวิเคราะห์มาก่อนแล้วว่า การทำ SEO จะเป็นช่องทางที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ การทำ SEO นั้นไม่ได้มีแต่ข้อดีเพียงอย่างเดียวแน่นอน ก่อนการตัดสินใจเลือกให้ SEO เป็นช่องทางให้การทำการตลาด ควรศึกษาข้อดีข้อเสีย รวมไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจและเว็บไซต์ของคุณก่อนดีกว่า

ข้อดีของ SEO

  • ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ยี่ห้อ / ตราสินค้า ของคุณปรากฏต่อผู้ใช้ที่ค้นหาเจอ
  • ทำให้เกิดการแข่งขันสูง ทำให้ธุรกิจต้องมีการปรับตัวตาม ปรับแผน ปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อสู้กับคู่แข่ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน
  • สามารถวางกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ได้ตรงตามที่ต้องการ
  • ช่วยขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น

ข้อเสียของ SEO

  • ความไม่แน่นอนของอันดับ ด้วย Algorithm ที่มีการปรับปรุงตลอด จึงทำให้อันดับของเว็บไซต์นั้นมีการขยับอยู่เนื่องๆ ขึ้นบ้างลงบ้าง เป็นความไม่แน่นอนที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในเว็บไซต์ได้
  • ใช้เวลาในการทำอันดับนาน การปรับอันดับไม่สามารถทำได้แบบทันที ต้องใช้เวลานานมากกว่า 7-30 วันจึงจะมีการปรับปรุงอันดับเกิดขึ้น (ตามความหนาแน่นของคู่แข่งด้วย)
  • ในเว็บไซต์หนึ่งหน้านั้น จำกัด Keywords ที่เลือกทำ SEO ด้วย เนื่องจากการทำ SEO ต้องมีการปรับเกี่ยวกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ตาม Keywords ด้วย การเลือก Keywords ที่จะทำ SEO จึงต้องเลือก Keywords ที่คิดว่าน่าจะคุ้มค่าต่อคุณมากที่สุด

Case Study Top 1 Keyword “หมอพญายม”

หมอพญายม

Keyword “หมอพญายม” นี้ผมได้เกิดไอเดียอยากติดตาม Hot trend ขึ้นหลังจากที่ดูรายการของคุณวูดดี้เกิดมาคุย ในสัปดาห์ที่ ดงแฮ วง Super Junior มา ซึ่งในช่วงท้ายรายการได้มีการแนะนำว่าสัปดาห์ต่อไปใครจะมา ในรายการก็ได้แนะนำว่าสัปดาห์ต่อไปเตรียมพบกับหมอพญายม ในรายการได้เกริ่นไว้ว่า

“วิเชียร อยู่เกตุ เป็นทารกที่เติบโตนอกมดลูก จนชาวบ้านต่างลือกันว่าเป็น “ลูกผีมาเกิด” พ่อแม่จึงทำทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้เกิดมาลืมตาดูโลก แต่นั่นไม่สำเร็จ! กระทั่งได้ไปเป็นนักฆ่าที่ฆ่าคนมาแล้วมากมาย จนผันตัวมาทำธุรกิจหลายอย่าง เช่น อาบ อบ นวด, คาเฟ่, ทำบ้านจัดสรร บ่อตกปลา ฯลฯ แต่ชีวิตก็สุขสบายได้ไม่นานก็เริ่มมีหนี้สิ้นเกือบ 500 ล้านบาท และมีเรื่องร้ายต่างๆ นานาๆ เกิดขึ้นกับตัวเอง”

ผมฟังแค่นี้รู้สึกสนใจหมอพญายมคนนี้ซะแล้ว เลยลองค้นใน Google สักหน่อย อยากรู้จักเพิ่มกว่านี้แต่ปรากฏว่ามีข้อมูลของหมอพญายมอยู่น้อยมาก และข้อมูลดังกล่าวก็อยู่กันอย่างกระจัดกระจาย เอาละเซ่.. ถ้าอาทิตย์หน้าหมอพญายมออกแล้วคนค้นแล้วไม่เจอข้อมูลทำยังไงละ.. ใช่แล้ว! ผมต้องหาข้อมูลมาให้ทุกๆ ท่านได้อ่านกัน

ผมเลยเริ่มต้นหาข้อมูลตามเว็บต่างๆ แล้วนำมารวมๆ กัน นั่งทำประมาณ 1 ชั่วโมงก็เสร็จ ในบทความของผมนั้นประกอบไปด้วยโครงสร้าง

  1. รูป 1 รูป ที่ไม่ซ้ำใคร ง่ายๆ ก็ไปหารูปที่มีอยู่แล้วนำมาตัดๆ ต่อๆ ก็เสร็จ
  2. บทความไม่ซ้ำใคร ผมใช้วิธีอ่านและนำมาเขียนใหม่ แน่นอนว่าเนื้อเรื่องและคำบาง คำอาจจะเหมือนกัน แต่รูปแบบโครงสร้างคำไม่เหมือนกันแน่นอน เพราะได้ผ่านความคิดเราแล้ว.. สรุปแล้วก็คือการ Rewrite บทความนั้นเองครับ
  3. บทความต้องมีความยาวที่พอดีไม่น้อยจนเกินไป ของผมมีประมาณ 3 วรรค
  4. บทความมีตัวหนา ตัวเอียง อื่นๆ ตามความเหมาะสม
  5. Title คือ Keyword นั้นก็คือ “หมอพญายม” คำเดียวไม่มีเสริม
  6. มีลิงค์เข้าหาบทความในหน้าของมันเอง 1 Link ตรงนี้ผมให้หัวข้อของบทความทำลิงค์เข้าหาบทความเองครับ (Link Loop)
  7. มีลิงค์ออกไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง ผมทำลิงค์ออกไปยังบทความที่ผมได้นำมาอ้างอิง

นั้นก็คือการปรับ Onpage (ปัจจัยภายใน) ในส่วนของ Offpage (ปัจจัยภายนอก) ผมไม่ได้ทำอะไรเลย ไม่ได้ Submit อะไรที่ไหนเลย ใช้เวลาในการ Index กี่นาทีไม่ทราบเหมือนกันครับ แต่มาเช็คดูตอนตื่นแล้ว มันเขียนไว้ 17 ชั่วโมงมั่งครับ ตอนนั้นอยู่อันดับ 1 จำได้ว่าวันแรกมีคนค้นประมาณเกือบๆ พัน หลังจากนั้นก็ไม่ถึงร้อยครับ

หลังจากนั้นประมาณ 2 – 3 วันก็เริ่มมีเว็บไซต์หลายเว็บให้ความสนใจ Keywords นี้และทำการ Submit ตามเว็บ Social Bookmark ต่างๆ เพื่อทำ SEO ทำให้เว็บ Social Bookmark ที่เขาไป Submit ต่างทะยอยขึ้นหน้า 1 กันหมด และเว็บผมก็ลงมาปรับฐานใหม่อยู่ประมาณ 2-3 วัน ช่วงนั้นเว็บผมอยู่หน้า 2 หลังจากที่ปรับฐานเสร็จผมก็ผมกลับไปอยู่อันดับ 2 และในที่สุดก็ขึ้นมาอยู่อันดับ 1 ได้

เป็นไงบ้างละครับสำหรับ Case study “หมอพญายม” แน่นอนครับว่าหากต้องการรักษาอันดับให้ได้นานกว่านี้ จะต้องเริ่มทำการหา BackLinks ให้ แต่ผมคงไม่ถึงขนาดนั้น ผมเพียงต้องการ Case study เฉยๆ ไม่มีอะไรมากครับ ขอบคุณที่ติดตามครับ วันหลังมีอะไรดีๆ จะนำมาบอกเล่ากันอีกนะครับ 😉

หมายเหตุ บทความนี้เขียนไว้นานมาก แต่ลืมเอามาโพส

พื้นฐานความเข้าใจเรื่อง Sitemap ในการทำ SEO

sitemap
sitemap

1. Sitemap คืออะไร ?
Sitemap แปลเป็นภาษาไทยแบบบ้านๆ ว่า แผนที่เว็บไซต์ หรือ แผงผังเว็บไซต์ ซึ่ง Sitemap ก็คือความหมายตรงๆ ของคำที่แปลเป็นภาษาไทยก็คือแผนที่ของเว็บไซต์ ซึ่ง Sitemap ในเว็บไซต์จะต้องอธิบายโครงสร้างทั้งหมดของเว็บไซต์ได้ เพื่อเป็นการสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อ Search Engine (Google,Yahoo) และผู้ใช้งานทั่วไปด้วย ซึ่งในหน้า Sitemap นี้จะเป็นการรวม Link ทั้งหมดภายในเว็บไซต์ให้อยู่เพียงหน้านี้หน้าเดียว

2. ประเภทของ Sitemap ?
ตรงนี้จะให้ทำความเข้าใจกับ Sitemap ก่อนว่าทำไม Sitemap จะต้องมีการแบ่งประเภทด้วย ? แล้วเอาอะไรมาตัดสินในการแบ่งประเภทกันแน่ ? Continue reading “พื้นฐานความเข้าใจเรื่อง Sitemap ในการทำ SEO”

สรุปและขอบคุณ “ทำบุญวันเกิด”

ทำบุญวันเกิด

การแข่งขันอันยาวนานในที่สุดก็จบลง สุดยอด SEO ของเมืองไทยใน Keyword “ทำบุญวันเกิด” เป็นการแข่งขันที่ดุ เดือด เผ็ด มันส์ มากครับ สำหรับการแข่งขันรายการนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 131 โดเมน แบ่งเป็นประเภทโดเมนเก่า 114 โดเมนและประเภทโดเมนใหม่ 17 โดเมน (ดูในรายละเอียดเพิ่มในนี้ครับ)

สุดยอด SEO ในประเภทโดเมนเก่าคือเว็บไซต์ “meritsbirthdaywishes.blogspot.com”
และสุดยอด SEO ของเมืองไทยในประเภทโดเมนใหม่คือเว็บไซต์ “ทําบุญวันเกิด.net”

ในการแข่งขันในช่วงแรกนั้น จะสังเกตุได้ว่าอันดับ Dance สูงมากๆ Dance ทุกนาทีเลยก็ว่าได้ กระทั่งผ่านมาได้ประมาณ 15 วันอันดับจึงเริ่มนิ่งและเว็บไซต์เกิดใหม่ก็ Dance มาหน้าแรกๆ บ้างเป็นบ้างโดเมน แต่ก่อนจะหมดเขตนั้น Google.co.th ได้ทำพิษ (สุดๆ) เล่นเอานัก SEO งงกันเป็นแถวๆ วิเคราะห์ไม่ถูกว่าเกิดอะไรขึ้น ก็อันดับมันเล่นนิ่งยังกะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยนี้ละครับ แต่ก็ได้ผู้ชนะของทั้ง 2 ประเภทแล้วนะครับ

ทีม Silicon Valley @ Nimman ของเราได้ส่งโดเมนทั้ง 2 ประเภทโดยใช้เว็บไซต์เหล่านี้ส่งในประเภทโดมเมนเก่า

  • paikad.com
  • sutenm.com
  • ilovepai.com

งานนี้เว็บไซต์ Paikad.com อยู่อันดับ 3 ของ Google.co.th และได้ที่ 3 ในประเภทการแข่งขันโดเมนเก่าครับ และ Tumtan.com ส่งในประเภทใหม่ โดยทีม Silicon Valley @ Nimman ของเราก็ได้เริ่มทำเว็บใหม่ประมาณวันที่ 1 ใช้โดเมน www.tumtan.com นั้นเอง แรกๆ ที่ Index นั้นอยู่ที่หน้าหลังๆ เลย หลังจากนั้นเว็บไซต์นี้ก็เริ่มขยับขึ้นมาและไต่ขึ้นสู่หน้า 1 ได้สำเร็จ จบการแข่งขันอยู่อันดับที่ 12 ของ Google.co.th และอันดับที่ 5 ในประเภทโดเมนใหม่ครับ งานนี้ต้องขอขอบคุณเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนแก่เราครับ (Network เหมือนกันครับ แต่ไม่ใช่ Network ตัวเอง อิอิ)

  • ขอบคุณ พี่วัช utalert
  • ขอบคุณ คุณ thaizeal จาก thaiseoboard
  • ขอบคุณ พี่กิว จากเว็บ thammachuk.com
  • ขอบคุณ คุณเบ๊นซ์ จากเว็บ naddate.com
  • ขอบคุณ เพื่อบาส Thaidhost.com
  • ขอบคุณ เพื่อนซอล จากสายใยไทย
  • ขอบคุณ คุณก้อง
  • ขอบคุณ คุณ sytthiphan เว็บ Iblog.in.th
  • ขอบคุณ พี่ Jenk สมาชิก thainorthadmin.com
  • ขอบคุณลิงค์จาก วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม
  • ขอบคุณ คุณ Bugnoms
  • ขอบคุณ คุณเปิ้ล และพี่ Max
  • และลิงค์จากท่านอื่นๆ ที่ไม่สามารถแจกแจงได้หมด

การแข่งขันครั้งนี้สนุกมากครับ ต้องขอขอบพระคุณทุกๆ ท่านที่กล่าวมาเป็นอย่างสูงครับ ดีใจและรู้สึกซาบซึ่งมากครับที่ทุกท่านร่วมสนับสนุนและเป็นเครือข่ายกับเราในครั้งนี้ หากมีอะไรที่เราพอช่วยเหลือได้แจ้งได้เลยครับ เราจะช่วยเหลืออย่างเต็มที่ครับ

ทีม Silicon Valley @ Nimman เราจะไปในงาน รวยท้ายปีกับ SEM นะครับ ตอนนี้ยืนยันแล้วว่าทีมเราจะไปกันประมาณ 5 คน (ขาดคุณต้นและแฝดน้อง) แล้วเจอกันในงานครับผม 😉

Wordpress Social Share Plugin powered by Ultimatelysocial